💀โปรแกรมอรรถประโยชน์ 💀

 

โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้

โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ ( Utility Program ) เป็นโปรแกรมที่สำคัญกับการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่าระบบปฏิบัติการ คุณสมบัติในการใช้งานนั้นค่อนข้างหลากหลายหรือใช้งานได้แบบอรรถประโยชน์ มักนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ยูทิลิตี้ ( Utility ) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ ( OS Utility Programs ) เป็นยูทิลิตี้ที่มักจะมีการติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งขอยกตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่ใช้ใน Windows ที่ค่อนข้างจะรู้จักกันดี

ยูทิลิตี้อื่น ๆ ( Stand-Alone Utility Program )

โดยหน่วยนี้จะกล่าวถึงวิธีการใช้งานโปรแกรมเหล่านี้ และประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อเรียกใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้หัวข้อคำสั่ง  System Tools

โปรแกรม  Scandisk

โปรแกรม  Scandisk เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของหน่วยสำรองข้อมูลประเภทฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์ ว่ามีส่วนที่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ รวมถึงตรวจสอบโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่ามีความถูกต้องหรือไม่หากพบปัญหาเกิดขึ้นโปรแกรม Scandisk จะทำการแก้ไขโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการแก้ไขให้ผู้ใช้งานทราบ

 

                หน้าที่ของโปรแกรมยูทิลิตี้

          ตัวอย่างโปรแกรมยูติลิตี้                                                                                                     ชนิดของโปรแกรมยูติลิตี้มีหน้าที่ต่างๆ กัน และมีผลิตภัณฑ์ยี่ห้อรุ่นต่างกันมากมาย ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงตัวอย่างหน้าที่และผลิตภัณฑ์ตัวอย่างของโปรแกรมยูติลิตี้ที่มีใช้กันอยู่มากและเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน

ฟอร์แมตเตอร์ – Formatter                                                                                                                              โปรแกรมฟอร์แมตเตอร์เป็นโปรแกรมสำหรับการเตรียมรูปแบบการบันทึกข้อมูลบนดิสก์ เนื่องจากดิสก์เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายรุ่นและระบบปฏิบัติการไม่เฉพาะเจาะจง ก่อนที่จะใช้ดิสก์เป็นข้อมูลสำหรับระบบปฏิบัติการแบบใดจำเป็นต้องจัดรูปแบบการการจัดเก็บข้อมูลไฟล์และโครงสร้างที่เกี่ยวกับการจัดเก็บไฟล์และแบ่งไดเร็กทอรี่หรือโฟลเดอร์ตามรูปแบบที่ระบบปฏิบัติการนั้นกำหนด การจัดรูปแบบที่เรียกว่าดิสก์ฟอร์แม็ต จะต้องทำกับทั้งอาร์คดิสก์และฟล๊อปปี้ดิสก์ก่อนที่จะใช้ดิสก์นั้นเก็บข้อมูลครั้งแรก ซึ่งระบบปฏิบัติการทุกระบบจะเตรียมโปรแกรมยูติลิตี้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจัดฟอร์แม็ตดิสก์ใหม่ เช่น ในเอ็มเอสดอส ใช้คำสั่ง FORMAT.COM ในวินโดว์ก็มีคำสั่ง Format… ในกลุ่มเมนู File เมื่อเราเลือกไอคอนแสดงดิสก์ในระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่คำสั่งในการจัดฟอร์แม็ตจะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานได้ใช้คำสั่งเช่นนี้กับฮาร์ดดิสก์ของระบบ ผู้ที่สามารถใช้คำสั่งนี้ได้จะเป็นผู้ดูแลระบบเท่านั้นและอาจจะต้องเข้าสู่โหมดในการจัดการระบบก่อนที่จะทำการฟอร์แม็ตได้ เนื่องจากการฟอร์แม็ตดิสก์ใหม่จะทำให้โปรแกรม และข้อมูลที่ถูกติดตั้งและบันทึกอยู่ถูกลบล้างหายไปทั้งหมด จึงเป็นคำสั่งที่จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง แม้แต่ในเครื่องพีซีที่ใช้งานส่วนบุคคลก็จะต้องระวังไม่ให้ใช้คำสั่งนี้ผิดพลาด เช่นเลือกฟอร์แม็ตดิสก์ผิดตัว เป็นต้น

โปรแกรมช่วยค้นหาไฟล์ข้อมูล – Find File                                                                                                 การเก็บข้อมูลไฟล์ในระบบที่มีหน่วยบันทึกข้อมูลความจุสูงที่ใช้กันทุกวันนี้มีความสามารถเก็บข้อมูลได้นับหมื่นไฟล์ การเก็บข้อมูลมีการแบ่งโครงสร้างเป็นโฟลเดอร์ที่สามารถแตกออกไปได้หลายชั้น ด้วยจำนวนไฟล์ที่มีมาก และสามารถจัดแบ่งโฟลด์เดอร์ที่เก็บข้อมูลย่อยๆ บางครั้งเป็นการยากที่เราจะค้นหาไฟล์ข้อมูลที่ต้องการนำมาใช้งานว่ามีอยู่หรือไม่และจัดเก็บไว้ในตำแหน่งใดโปรแกรมค้นหาไฟล์ข้อมูลเป็นยูติลิตี้ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้ว่ามีไฟล์ที่ต้องการเก็บอยู่หรือไม่และหากมีไฟล์นั้นอยู่มี่ตำแหน่งใด โดยระบุเงื่อนไขของไฟล์ที่ต้องการได้หลายเงื่อนไข เช่นกำหนดชื่อไฟล์หรือระบุเฉพาะบางส่วนของชื่อไฟล์ ชนิดของข้อมูลที่บรรจุอยู่ในไฟล์ ช่วงวันที่ที่เปลี่ยนแปลงข้อมูลล่าสุด หรือระบุข้อมูลหรือข้อความที่อยู่ในไฟล์นั้น

ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FINDFILE ในโนเวลล์เน็ตแวร์ คำสั่ง Find Files or Folders … ของวินโดว์ 98 เป็นต้น

โปรแกรมช่วยลดขนาดไฟล์ในการจัดเก็บบันทึกให้เล็กลง – File Compression

การจัดเก็บไฟล์ข้อมูลที่จะฝากเก็บไว้โดยยังไม่ได้ใช้งานสามารถบีบขนาดไฟล์ให้เล็กลงได้โดยใช้กระบวนการบีบอัดข้อมูลที่เรียกว่าดาต้าคอมเพรสชั่น (data compression) ซึ่งขนาดอาจลดลงได้มากถึง 90% คือใช้พื้นที่เก็บข้อมูลเพียง 10% ของขนาดข้อมูลจริง แล้วแต่ว่าข้อมูลนั้นมีความซ้ำกันเพียงใดหากซ้ำกันมากก็สามารถลดขนาดได้มาก ข้อมูลที่ถูกลดขนาดลงไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที หากต้องการนำกลับมาใช้งานจะต้องขยายขนาดข้อมูลกลับมาเท่าเดิมโดยใช้โปรแกรมขยายขนาดกลับมาเรียกว่าดีคอมเพรสชั่น (decompression) ซึ่งโปรแกรมยูติลิตี้ที่ช่วยในการลดขนาดข้อมูล จะมีคำสั่งสำหรับขยายขนาดข้อมูลกลับมาเป็นข้อมูลเท่าเดิมด้วย นอกจากนี้ยังสามารถบีบอัดและรวมข้อมูลหรือโปรแกรมจากหลายๆ ไฟล์เข้ามารวมไว้ในไฟล์เดียวกันเพื่อทำให้สะดวกในการคัดลอกหรือโอนถ่ายข้อมูลและโปรแกรมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอรตัวอย่างโปรแกรมยูติลิตี้สำหรับบีบอัดและขยายข้อมูลที่ถูกใช้งานกันมาก ได้แก่ PKZIP.EXE และ PKUNZIP.EXE เป็นโปรแกรมบีบอัดและขยายที่ทำงานบนเอ็มเอสดอส โปรแกรม WinZip ทำงานบนวินโดว์ โปรแกรม WinRAR เป็นต้น

โปรแกรมช่วยคืนไฟล์ที่ถูกลบไปแล้ว – File Undelete

ไฟล์ข้อมูลที่ถูกลบออกแล้วหากยังไม่มีการบันทึกข้อมูลใหม่ทับลงไปยังสามารถเรียกไฟล์เหล่านั้นกลับคืนมาได้ ซึ่งระบบปฏิบัติการในยุคปัจจุบันจะไม่บันทึกข้อมูลใหม่ทับตำแหน่งข้อมูลที่ถูกลบเว้นแต่จะไม่มีพื้นที่บันทึกข้อมูลว่างแล้ว หรือในระบบปฏิบัติการอาจมีวิธีนำข้อมูลที่ถูกลบไปเก็บไว้ในตำแหน่งที่เตรียมไว้ก่อน ซึ่งการเรียกข้อมูลที่ถูกลบทิ้งจะมีคำสั่งหรือโปรแกรมยูติลิตี้ช่วยดำเนินการ แต่ในระบบปฏิบัติการเช่นวินโดว์ 95/98 ได้รวมคำสั่งคืนไฟล์นี้เข้าเป็นคำสั่งของระบบปฏิบัติการตัวอย่างโปรแกรมสำหรับคืนไฟล์ที่ถูกลบ เช่น คำสั่ง UNDELETE.COM ในเอ็มเอสดอส คำสั่ง SALVAGE ในโนเวลล์เน็ตแวร์ หรือการใช้คำสั่ง Restore ใน Recycle Bin (ถังขยะเก็บไฟล์ที่ลบแล้วของวินโดว์)

โปรแกรมช่วยทำข้อมูลสำรอง และนำคืนข้อมูลสำรอง – Backup and Recovery

โปรแกรมยูติลิตี้ประเภทนี้จะทำการคัดลอกไฟล์ข้อมูลเก็บลงในสื่อ เช่นฟลอปปี้ดิสก์หรือเทป เพื่อใช้เป็นสื่อข้อมูลสำรองที่สามารถนำข้อมูลกลับคืนมาติดตั้งใหม่หากข้อมูลในหน่วยบันทึกข้อมูลเกิดเสียหายหรือสูญหายไป โปรแกรมสำรองข้อมูลบางโปรแกรมจะบันทึกข้อมูลสำรองแยกเป็นไฟล์ แต่บางโปรแกรมจะรวมข้อมูลที่สำคัญของดิสก์และระบบปฏิบัติการเป็นร่วมกันโดยไม่ได้คำนึงว่าไฟล์ใดบ้างและเก็บร่วมเป็นไฟล์เดียวกัน เรียกว่าดิสก์อิมเมจ (Disk Image) หากหน่วยบันทึกข้อมูลเสียไปก็สามารถถ่ายข้อมูลดิสก์อิมเมจที่สำรองไว้กลับลงมาได้เหมือนสภาพเดิมทันที

ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Backup ของเอ็มเอสดอส และวินโดว์ 95 หรือ 98 โปรแกรม Norton Backup และ Colorado Backup เป็นต้น

โปรแกรมช่วยซ่อมไฟล์ข้อมูลหรือพื้นที่ในการเก็บข้อมูลในดิสก์ – File and disk repair

เมื่อเกิดปัญหาข้อมูลที่ถูกบันทึกในดิสก์เสียหาย หรือระบบการจัดเก็บไฟล์มีบางส่วนเกิดเสียหาย ทำงานไม่ปกติ โปรแกรมยูติลิตี้ด้านการตรวจสอบแก้ไขระบบไฟล์อาจถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาด้านนี้ ซึ่งการทำงานของโปรแกรมประเภทนี้คือจะอ่านแต่ละส่วนของระบบการจัดเก็บไฟล์ที่เรียกว่าไฟล์ซิสเต็ม (File System) เช่น ส่วนจัดเก็บชื่อไฟล์ ส่วนเชื่อมโยงไปยังเนื้อไฟล์ โครงสร้างการแบ่งไดเร็กทอรี่ และการจัดเก็บเนื้อที่ว่างบนดิสก์ หากพบว่ามีส่วนใดผิดปกติไม่ถูกต้อง จะแสดงรายการข้อผิดพลาดและถามให้ผู้ใช้เลือกว่าจะแก้ไขหรือไม่

ตัวอย่างเช่น Scandisk ที่ทำงานบนเอ็มเอสดอส, Norton disk doctor ในวินโดว์ 95 / 98 เป็นต้น

โปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส – Anti Virus

ไวรัส (Virus) คือคำสั่งโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ฝังตัวอยู่ในโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบและจะทำการถ่ายทอดตัวเองไปยังโปรแกรมอื่นๆ และแพร่ตัวเองไปบนระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย แล้วทำให้เกิดความเสียหายแก่ไฟล์หรือดิสก์ของระบบนั้นๆ โดยการทำลายโปรแกรมและข้อมูล หรือไวรัสบางตัวอาจทำลายดิสก์ทั้งหมด ไวรัสจะแพร่หลายโดยการใช้โปรแกรมในดิสก์ร่วมกันหรือการใช้โปรแกรมที่โหลดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือจากอินเตอร์เน็ต

โปรแกรมตรวจจับไวรัส (Anti-virus Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบสื่อบันทึกข้อมูลทั้งฮาร์ดดิสก์ฟลอปปี้ดิสก์และหน่วยความจำเพื่อตรวจหาโปรแกรมไวรัส โดยโปรแกรมจะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบหากตรวจพบพฤติกรรมของไวรัสและบางโปรแกรมจะทำลายไวรัสให้ทันที

ตัวอย่างโปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้แก่ McAfee Virus Scan, Norton Antivirus, Virus Scan for Windows95 เป็นต้น

โปรแกรมตรวจเช็คสภาพเครื่องทั้งฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ – System Diagnostic

โปรแกรมยูติลิตี้ที่ช่วยตรวจสอบการทำงานของฮาร์ดแวร์ ซึ่งรวมถึง ซีพียู, หน่วยความจำ, ระบบแสดงผล, อุปกรณ์มัลติมีเดีย ว่ามีการทำงานเป็นปกติหรือไม่ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของระบบปฏิบัติการว่ายังมีส่วนประกอบครบถ้วนและข้อมูลของระบบปฏิบัติการเองไม่เสียหายไปเนื่องจากระบบปฏิบัติการที่มีความซับซ้อน มีจำนวนไฟล์โปรแกรมและไฟล์ข้อมูลที่ใช้งานประกอบกันเป็นจำนวนมากบางครั้งอาจเกิดความเสียหายเนื่องจากการลบไฟล์ผิด การติดตั้งโปรแกรมใช้งานไม่สมบูรณ์หรือผิดรุ่น ก็อาจมีผลให้ระบบปฏิบัติการทำงานได้ไม่ถูกต้อง

โปรแกรมตรวจเช็คสภาพเครื่องจึงมีประโยชน์ ใช้งานได้ทั้งในสภาวะปกติที่เราจะตรวจสอบก่อนที่จะเกิดปัญหาและเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เช่น เมื่อโปรแกรมทำงานไม่ได้ตามปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจมีส่วนของโปรแกรมที่ใช้ช่วยเหลือโปรแกรมต่างๆ ไม่ให้โปรแกรมหยุดทำงานเนื่องจากติดขัดด้วยสาเหตุบางอย่าง

ตัวอย่างโปรแกรมตรวจสอบระบบ คือ WinCheckIT , และโปรแกรมที่อยู่ในชุดของ Norton Utilities เช่น Crash Guard 2.0 , Win Doctor, System Doctor เป็นต้น

โปรแกรมตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานทรัพยากร – Resource utilization performance meter

ยูติลิตี้นี้มีไว้ตรวจสอบว่ามีการใช้งานทรัพยากรของระบบมากเพียงใด โดยจะแสดงในรูปของตัวเลขเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น การใช้ซีพียู 75% หมายความว่าซีพียูถูกใช้งานประมาณ 75% และหยุดรอโดยไม่ทำงาน 25% หรือการใช้หน่วยความจำ 30% หมายความว่ายังมีเนื้อที่ว่างในหน่วยความจำเหลืออยู่อีก 70% เป็นต้น หรือแสดงในรูปกราฟที่ทำให้เราเห็นปริมาณการใช้งานที่ผ่านมาในระยะเวลาต่างๆ และยังอาจเก็บชุดตัวเลขเหล่านี้บันทึกลงในไฟล์เรียกว่าล๊อกไฟล์ (log file) เพื่อนำมาวิเคราะห์ในภายหลังได้ด้วย

การตรวจสอบประสิทธิภาพจะมีประโยชน์มากกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นแม่ข่ายให้บริการแก่คอมพิวเตอร์อื่นๆ เพื่อจะดูว่าได้ใช้ความสามารถของแม่ข่ายนั้นในระดับใดหากใช้เกินกว่าปริมาณที่สมควร อาจจะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่นหากใช้หน่วยความจำสูงมากอาจเพิ่มหน่วยความจำหรือหากใช้ซีพียูสูงตลอดเวลาก็อาจเปลี่ยนไปใช้ซีพียูที่เร็วขึ้นหรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลายซีพียู และอาจจะมีส่วนที่ทำหน้าที่วัดและแสดงปริมาณการใช้ทรัพยากรของระบบรวมถึงการแสดงผลของทรัพยากรที่เหลืออยู่

ตัวอย่างเช่น Resource Meter, System monitor ในกลุ่มคำสั่ง Accessory ของวินโดว์ Norton System Doctor เป็นต้น

โปรแกรมช่วยจัดระเบียบข้อมูลในดิสก์ – Disk defragmentation

หากเป็นฮาร์ดดิสก์ที่เริ่มใช้งานใหม่หลังจากถูกฟอร์แมต ระบบปฏิบัติการจะจัดเก็บข้อมูลของไฟล์ไว้อย่างต่อเนื่องบนเนื้อดิสก์ แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ เช่นมีการลบไฟล์ เพิ่มข้อมูล ฯลฯ ข้อมูลใหม่ของไฟล์จะถูกกระจายไปยังเนื้อที่ว่างที่ยังไม่ได้ถูกใช้งาน ทำให้ข้อมูลในไฟล์ไม่ต่อเนื่องกัน การที่เนื้อหาของไฟล์เดียวกันถูกจัดเก็บกระโดข้ามตำแหน่งกันไม่อยู่ต่อเนื่องทำให้ประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลไฟล์นั้นลดลงเนื่องจากต้องใช้เวลาในการเลื่อนหัวอ่านข้อมูลของดิสก์ข้ามไปมาในระหว่างอ่านชุดของข้อมูล

การจัดเก็บไฟล์ที่กระโดดข้ามไปมานั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานตามปกติซึ่งเรียกว่า ไฟล์ที่แบ่งแยกออกเป็นชิ้นเล็กน้อย (Fragmented file) คือไฟล์ที่ส่วนต่างๆ ของไฟล์กระจัดกระจายไม่ต่อเนื่องกันอยู่บนดิสก์ ซึ่งทำให้การเข้าถึงข้อมูลในไฟล์ต้องใช้เวลามากขึ้น

โปรแกรมรวมรวมจัดระเบียบการจัดเก็บไฟล์ใหม่ (file defragmentation utility) เป็นโปรแกรมยูติลิตี้ที่ทำการจัดตำแหน่งเนื้อที่ในแต่ละไฟล์ให้มาอยู่ต่อเนื่องกัน เพื่อจะเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลในดิสก์ และบางโปรแกรมยังทำการจัดตำแหน่งไฟล์ให้อยู่ในตำแหน่งในดิสก์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยดูจากโอกาสในการถูกใช้งานมากน้อยเพียงใด หากเป็นกลุ่มไฟล์ที่จะถูกเรียกใช้งานบ่อยก็อาจนำมาวางเรียงกันในตำแหน่งใกล้กัน เพื่อไม่ให้หัวอ่านดิสก์ต้องเลื่อนตำแหน่งไปไกลมาก เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น โปรแกรมในชุดโปรแกรม Norton Utility ได้แก่ Speed Disk, Optimization Wizard คำสั่ง Disk Defragmenter ในกลุ่มคำสั่ง Accessory ของวินโดว์ เป็นต้น

โปรแกรมกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนหรือไม่ได้ใชังานในระบบ – Disk cleanup

การสร้างประสิทธิภาพของการใช้ระบบประการหนึ่งคือการกำจัดข้อมูลที่ไม่ถูกใช้งาน ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่สร้างขึ้นชั่วคราวระหว่างการใช้โปรแกรมแล้วไม่ได้ถูกลบทิ้งเมื่อเลิกใช้ หรือข้อมูลที่มีอยู่ซ้ำซ้อนกันแต่เก็บในต่างตำแหน่งกัน ไฟล์ข้อมูลของระบบปฏิบัติการที่อาจไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งเมื่อมีข้อมูลที่ไร้ประโยชน์เก็บอยู่นอกจากจะทำให้เปลืองเนื้อที่บันทึกในดิสก์โดยเปล่าประโยชน์แล้วยังอาจกระทบต่อการสร้างประสิทธิภาพอื่นๆ เช่น การกระจายของข้อมูลที่เก็บในดิสก์ (fragmented file) การเลื่อนของหัวอ่านดิสก์ที่จะต้องเลื่อนไปในแทรกต่างๆ หากมีการเก็บข้อมูลมากจำนวนแทรกที่มีข้อมูลก็จะมากทำให้หัวอ่านมีโอกาสที่จะต้องเลื่อนไปมาไกลขึ้น

โปรแกรมกวาดล้างข้อมูลส่วนเกิน (disk cleanup utility) จะตรวจสอบข้อมูลไฟล์ประเภทต่างและให้ผู้ใช้ได้เลือกว่าต้องการลบข้อมูลกลุ่มใดออกจากระบบ หรือให้เลือกแยกเป็นไฟล์ไปว่าไฟล์ใดต้องการลบออกบ้าง โดยจะแสดงชื่อไฟล์ที่น่าจะไม่ได้ถูกใช้งานออกมาให้เลือก

ตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้ เช่น Disk Cleanup ในกลุ่ม Accessory ของวินโดว์ โปรแกรม Clean Sweep เป็นต้น

โปรแกรมกำหนดเวลาทำงานอัตโนมัติให้แก่คอมพิวเตอร์ – Task scheduler

ในการใช้งานคอมพิวเตอร์บางงานเราสามารถตั้งเวลาเริ่มต้นให้โปรแกรมทำงานได้โดยใช้โปรแกรมกำหนดเวลาทำงานซึ่งมักจะมีวิธีกำหนดได้หลายแบบ เช่นจะให้ทำงานทุกวันตามเวลา หรือทุกสัปดาห์ทุกเดือน ตามวันที่กำหนด (เช่น กำหนดทุกวันศุกร์ หรือทุกวันที่ 15 ของเดือน เป็นต้น) และอาจกำหนดเวลาให้หยุดทำงานได้ ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ เช่น เรียกใช้โปรแกรมตรวจสอบระบบ หรือสำรองข้อมูล โดยอัตโนมัติ เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น task scheduler ในกลุ่ม Accessory ของวินโดว์ 95 / 98

โปรแกรมช่วยสร้างขั้นตอนอัตโนมัติ (Script file)

การสั่งให้โปรแกรมหรือคำสั่งทำงานตามลำดับโดยเราตั้งขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ เอาไว้ก่อนเมื่อต้องการให้เกิดการทำงานตามลำดับขั้นตอนก็จะเรียกเพียงคำสั่งเดียว ขั้นตอนที่ตั้งไว้ก็จะเริ่มทำงานตามลำดับได้โดยอัตโนมัติ

ตัวอย่างเช่น การใช้ไฟล์ชนิดแบทช์ (Batch file) ในเอ็มเอสดอส สามารถกำหนดขั้นตอนการสั่งให้คำสั่งหรือโปรแกรมทำงานตามลำดับ ในวินโดว์ก็มีโปรแกรม Win Batch หรือในระบบยูนิกซ์ก็สามารถกำหนดไฟล์สคริปต์ได้เช่นเดียวกันกับไฟล์แบทช์ของเอ็มเอสดอส

โปรแกรมเลียนแบบเทอร์มินอล (Terminal emulator)

เครื่องพีซีเป็นคอมพิวเตอร์ที่นับว่ามีราคาต่ำและมีความสามารถสูงถูกนำไปใช้งานเพื่อเป็นเทอร์มินอลของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่แทนจอเทอร์มินอลที่ใช้เฉพาะ โดยการใช้โปรแกรมเลียนแบบจอเทอร์มินอล เพื่อทำให้พีซีรวมทั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ยูนิกซ์สามารถต่อเชื่อมเข้ากับโฮสคอมพิวเตอร์โดยผ่านช่องทางอนุกรมตามมาตรฐานอาร์เอส 232 หรือระยะไกลผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์หรือผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งการใช้พีซีเป็นเทอร์มินอลจะมีความสามารถในการทำงานเป็นเทอร์มินอลได้สูงกว่าจอเทอร์มินอลที่ใช้เฉพาะ และยังมีราคาที่ถูกกว่าจอเทอร์มินอลตัวจริงเช่นกราฟิกเทอร์มินอลด้วย เนื่องจากมีปริมาณผลิตมากกว่า

ตัวอย่างโปรแกรมเลี่ยนแบบเทอร์มินอล เช่น Smart Terminal ในวินโดว์ โปรแกรม Telnet ที่มีใช้ทั้งในระบบพีซีและยูนิกซ์

โปรแกรมเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ (Computer to computer connection)

โปรแกรมที่ช่วยสร้างการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ต่อเชื่อมกันระหว่างเครื่องต่อเครื่อง อาจต่อเชื่อมกันผ่านอุปกรณ์โมเด็มและสายโทรศัพท์ หรือต่อกันโดยพอร์ตและสายสัญญาณ ซึ่งอาจเป็นพอร์ตอนุกรมอาร์เอส 232 หรือพอร์ตขนานซึ่งปกติใช้กับเครื่องพิมพ์ เพื่อประโยชน์ในการถ่ายทอดข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง หรืออาจใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งควบคุมเครื่องอื่นๆ ในการทำงานจากระยะไกล เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น Direct Cable Connection ในวินโดว์ โปรแกรม PCAnyWhere หรือโปรแกรม Kermit ในระบบยูนิกซ์ เป็นต้น

โปรแกรมถนอมจอภาพ (Screen saver)

สกรีนเซฟเวอร์เป็นยูติลิตี้ช่วยป้องกันความเสียหายของจอภาพจากการแสดงภาพที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยเป็นเวลานาน เมื่อผู้ใช้ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์แต่เปิดเครื่องเอาไว้จอภาพจะแสดงภาพอยู่นิ่งๆ ซึ่งการแสดงภาพเดียวนานๆ จะทำให้เกิดการเสื่อมของสารฟอสฟอรัสที่เคลือบจอนั้น โปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์จะเริ่มทำงานตามอัตโนมัติถ้าภาพที่อยู่บนจอภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะกำหนดได้ โดยจะแสดงภาพต่างๆ บนหน้าจอที่มีการเปลี่ยนแปลงของภาพแทนการแสดงผลเดิม เพื่อให้มีการยิงลำแสงไปที่ทุกจุดบนจอภาพอย่างทั่วถึง ช่วยลดการมัวของจอภาพโดยลดความสว่างของจอภาพลงหรือแสดงภาพเคลื่อนไหวบนจอภาพ

ที่มา: https://issaratech.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ซอฟต์แวร์

   เรื่อง ซอฟต์แวร์คืออะไร     ซอฟต์แวร์  (software) หรือ   ส่วนชุดคำสั่ง   หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเต...